หน้าเว็บ

ลงทุนแบบ DCA คืออะไร?

  DCA ในโลกของการลงทุนนั้นมาจากคำว่า Dollar Cost Average หรือ Dollar Cost Averaging (Dollar=เงินดอลลาร์, Cost=ต้นทุน ค่าใช้จ่าย, Average=เฉลี่ย) จึงแปลความหมายได้ว่า การเฉลี่ยเงินต้นทุน กล่าวคือเป็นวิธีการลงทุนแบบเฉลี่ยต้นทุนที่ใช้ในการซื้อสินทรัพย์เพื่อลดความเสี่ยงจากการซื้อสินทรัพย์ในราคาที่อาจจะสูงเกินไปนั่นเอง 
การลงทุนแบบ DCA มักนิยมใช้ในการลงทุนหุ้น โดยการแบ่งเงินต้นทุนออกเป็นส่วนๆ หรือเรียกว่าแบ่งซื้อหลายๆไม้แทนที่จะทำการซื้อไม้ใหญ่ไม้เดียว ตัวอย่างเช่น มีเงินต้นทุน 100,000 บาท หากทำการแบ่งออกเป็นสี่ส่วนก็จะทำกับมีเงินต้นทุน 25,000*4 และใช้ในการทยอยซื้อหุ้นตัวที่ต้องการ 4 ครั้ง ก็จะเรียกว่า DCA


- ข้อดีของการลงทุนแบบ DCA สำหรับข้อดีของการ DCA นั้นก็เป็นไปตามความหมายของมันคือช่วยลดความเสี่ยงเรื่องราคาทุนของหุ้น หรือสินทรัพย์ที่เราซื้อ เพราะอย่างที่ทราบกันว่าราคาของหุ้นนั้นมีความผันผวน และเปลี่ยนได้ตลอดเวลา ซึ่งหากเราทำการซื้อหุ้นที่ต้องการแบบซื้อไม้ใหญ่ทีเดียวเลยก็ย่อมมีความเสี่ยงที่เราจะซื้อผิดช่วงเวลา เช่น ซื้อช่วงที่ราคาหุ้นสูงไป หรือซื้อช่วงที่ราคาหุ้นยังลงไม่ถึงจุดต่ำสุดมากกว่าการซื้อหลายๆไม้ ดังนั้นการ DCA จึงเท่ากับช่วยลดความเสี่ยงที่จะขาดทุนจากการความผันผวนของราคาหุ้นไปในตัวด้วย ยกตัวอย่างง่ายๆเช่น หากเรามีเงิน 100,000 บาท ถ้าเราทำการซื้อหุ้นที่ต้องการครั้งเดียว โดยที่มีราคาปัจจุบันอยู่ที่ 20 บาท เราก็จะซื้อได้ 5,000 หุ้น ซึ่งหากเดือนหน้าราคาหุ้นตัวนี้เปลี่ยนแปลงลดลง เช่น ลงมาเหลือราคา 18 บาท ก็จะทำให้พอร์ตของเราแสดงการขาดทุนทันที 10,000 หรือก็คือมูลค่าหุ้นตามราคาตลาด 18*5,000 = 90,000 แต่หากเราทำการ DCA โดยการแบ่งการซื้อหุ้นเป็นสองไม้ คือซื้อครั้งแรกด้วยเงิน 50,000 ด้วยราคาหุ้น 20 บาท(ตามตัวอย่าง) และทำการซื้ออีกครั้งในเดือนต่อไป โดยที่ราคาหุ้นปรับตัวลงมาที่ 18 บาท ก็จะเท่ากับเราได้จำนวนหุ้นเพิ่มเป็นประมาณ 5,277 หุ้น โดยใช้ต้นทุน 100,000 บาทเท่ากัน ขณะที่มูลค่าพอร์ตตามราคาตลาด ณ เวลานั้น ก็จะขาดทุนลดลงจากการเฉลี่ยราคาต้นทุนที่ถูกลงด้วย
- ข้อเสียของการลงทุนแบบ DCA แม้ว่าการDCA จะช่วยลดความเสี่ยงเรื่องของต้นทุนที่ใช้ในการซื้อสินทรัพย์ หรือหุ้นตัวใดได้จากการทยอยซื้อในช่วงเวลาที่ต่างกันทำให้ได้ราคาทุนที่แพงบ้าง ถูกบ้าง แต่ขณะเดียวกันก็ย่อมหมายความว่าอาจทำให้เราพลาดโอกาสที่จะได้ซื้อหุ้น หรือสินทรัพย์ตัวใดในราคาทุนที่ต่ำกว่าเช่นกัน กล่าวคือ หากเราคาดการณ์ช่วงเวลาในการซื้อหุ้นตัวใดตึวนึงถูก (ณ เวลานั้นเป็นช่วงที่ราคาหุ้นลงถึงจุดต่ำสุดแล้ว) แต่เราเลือกใช้วิธีลดความเสี่ยง โดยเลือกแบ่งซื้อเป็นไม้ๆแทน ไม่เลือกซื้อไม้เดียวในตอนนั้นก็ย่อมทำให้ต้นทุนสูงขึ้นแทนที่จะต่ำลง เท่ากับโอกาสในการทำกำไรจากการลงทุนลดลงไปด้วยเช่นกัน
  จึงสรุปได้ว่าการเลือกใช้วิธีลงทุนแบบ DCA นั้นควรเลือกใช้ให้เหมาะสมกับช่วงเวลา เช่น หากเป็นช่วงที่เรามั่นใจในการคาดการณ์ทิศทางราคาหุ้นของตนเอง และเป็นช่วงที่เราสามารถรับความเสี่ยงจากการขาดทุนได้สูงก็อาจเลือกใช้วิธีทุ่มซื้อไม้เดียว แต่หากเป็นช่วงเวลาที่เราไม่มั่นใจในทิศทางการเคลื่อนไหวของราคา หรือทิศทางการขึ้นลงของตลาด และรับความเสี่ยงได้น้อยก็ควรเลือกใช้วิธี DCA

ณัฐนันท์ ชำนาญผา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น